โดย สมปอง อริโย | 18/06/2568
การมัดตราสัง (เขียนว่า “ตราสัง” ไม่ใช่ “ตราสังข์”) คือ อีกพิธีกรรมหนึ่งที่สำคัญของพิธีศพของคนไทยชาวพุทธ โดยสัปเหร่อหรือผู้ทำหน้าที่จะนำสายสิญจน์มามัดมือและเท้าของศพไว้พร้อมกับจัดท่าให้ศพอยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับทำพิธีต่อไป แต่นอกจากจุดประสงค์นั้นแล้ว พิธีมัดตราสังยังมีความเชื่อและปริศนาธรรมเบื้องหลังที่คนโบราณทิ้งเป็นกุศโลบายให้กับคนรุ่นหลังอย่างเราสืบมาอีกด้วย
การมัดตราสังนั้นจะมีความนัยอะไรที่แฝงไว้บ้าง ความเชื่อ คาถา และขั้นตอนต่าง ๆ มีอะไรบ้าง วันนี้ร้านพวงหรีด หรีด ณ วัด ขอมาแบ่งปันเรื่องราวให้กับคุณ
ขอบคุณรูปภาพจาก Last Project Photos
การมัดตราสัง หมายถึง การมัดศพหรือผูกศพเป็นเปลาะ ๆ ด้วยเส้นด้ายดิบหรือสายสิญจน์ บ้างเรียกว่า “ตราสัง” เท่านั้น ซึ่งคำว่า “สัง” ใน “มัดตราสัง” สัญนิษฐานว่า มาจากคำว่า “สังขาร” หรือบ้างก็ว่ามาจากคำว่า “(ผี)สาง” ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็หมายถึง การมัด สะกด/ตรา ศพ ไว้ให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมนั่นเอง
สำหรับวิธีการมัดตราสังนั้น จะทำเป็น 3 บ่วงรัดศพไว้ที่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ บ่วงมัดที่คอ บ่วงมัดที่มือทั้งสอง และบ่วงมัดตรงข้อเท้าทั้งสอง
สัปเหร่อจะเริ่มมัดตราสังที่คอก่อนแล้วจึงโยงด้ายมากลางลำตัวของศพ จากนั้นทำห่วงเป็นตะกุดเบ็ดผูกหัวแม่มือแล้วรัดมือทั้งสองในท่าพนมมือที่หน้าอก จากนั้นโยงมาทำบ่วงผูกที่เท้าทั้งสองให้ติดกัน มือและเท้าของศพจึงติดกับลำตัวสนิท เพื่อกันไม่ให้ศพเบ่งพองขึ้นจนดันโลงแตกออกมาเมื่อนำศพไปไว้ในโลง
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน บางวัดหรือบางพิธีศพอาจจะไม่มัดตราสังครบทั้ง 3 บ่วงแล้ว เหลือไว้เพียงการมัดมือทั้งสองของศพให้อยู่ในท่าพนมมือเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบัน มีโลงเย็นและมีการฉีดฟอร์มาลินให้กับศพแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมัดตราสังศพให้แน่หนาอย่างแต่ก่อน
สาเหตุที่ต้องมีการมัดตราสังศพก่อนนำเข้าโลง ก็มีด้วยกัน 2 เรื่องด้วยกัน
อีกทั้ง การนิมนต์พระสงฆ์จูงหน้าศพในพิธีฌาปนกิจ ก็ยังเป็นการเตือนผู้มีชีวิตอยู่ให้ดำรงชีวิตตามหลักธรรมคำสั่งสอน เพื่อให้มีธรรมะคุณธรรมอยู่ในจิตใจ นำพาแต่ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ชีวิต
พิธีมัดตราสังจะจัดทำขึ้นหลังจากทำพิธีรดน้ำศพและเตรียมร่างศพเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะนำร่างเข้าโลงศพและเตรียมทำพิธีต่อไป โดยมีวิธีการมัดตราสัง พร้อมกับคาถามัดตราสัง จะท่องบริกรรมตามขั้นตอนดังนี้:
เมื่อเสร็จพิธีการมัดตราสังแล้ว จะนำศพที่มัดแล้วมาห่อด้วยผ้าขาวผืนใหญ่ โดยขมวดชายผ้าเป็นปมไว้ที่ศีรษะ เพื่อให้สะดวกในการเปิดออกเมื่อต้องล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าวก่อนนำไปประกอบพิธีฌาปนกิจต่อไป
นอกจากนี้ ยังมัดเปลาะด้ายดิบขนาดนิ้วหัวแม่มือรอบลำตัวอีกประมาณ 5 เปลาะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทน “นิวรณ์ 5 ประการ” หรือสิ่งขวางกั้นจิตตามหลักพุทธศาสนา
ขอบคุณรูปภาพจาก Last Project Photos
การมัดตราสังศพก่อนฝังหรือเผานั้น ไม่ใช่เพียงแค่ขั้นตอนตามประเพณีที่สืบทอดทำกันมาเพียงเท่านั้น แต่ยังสะท้อนคติความเชื่อและปรัชญาชีวิตอันลึกซึ้งของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการผูกบ่วงเชือก 3 เปลาะ ได้แก่ บ่วงคอ บ่วงมือ และบ่วงเท้า
บ่วงเชือกทั้งสามนั้นแฝงนัยปริศนาธรรม สื่อถึง “สังโยชน์” หรือสิ่งผูกมัดจิตใจ 3 ประการ ที่ทำให้ดวงจิตต้องหมุนเวียนเกิดแก่เจ็บตายในวัฏสงสาร หากต้องการหลุดพ้นจากวังวนแห่งทุกข์ ก็จำเป็นต้องละวางสังโยชน์ทั้ง 3 นี้เสียให้ได้ (ได้แก่ บ่วงลูก บ่วงทรัพย์ และบ่วงภรรยา/สามีหรือคนรัก)
นอกจากนี้ การมัดเปลาะด้ายรอบลำตัวอีก 5 เปลาะ ก็เป็นการเตือนถึง “นิวรณ์ 5 ประการ” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ (ความขี้เกียจ ท้อแท้) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความคิดที่ไม่สงบนิ่ง) และวิจิกิจฉา (ความกังวล สงสัย ไม่แน่นอนใจ) ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้บรรลุความดีงามและมรรคผลตามหลักธรรม
ความหมายเหล่านี้ช่วยให้เห็นว่า การมัดตราสังไม่ใช่เพียงการเตรียมร่างสำหรับฌาปนกิจเท่านั้น แต่ยังมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สำนึกถึงการการประพฤติทางกาย วาใจ และใจ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร และบรรลุธรรมะคือความหลุดพ้นอันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต
โดยสรุปแล้ว การมัดตราสังจึงเป็นการสะท้อนมุมมองชีวิตของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลจากหลักปรัชญาพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง ซึ่งมุ่งเน้นให้เห็นโทษแห่งการผูกมัดด้วยกิเลสตัณหา และสอนให้เราละวางสังโยชน์ทั้งปวงเพื่อบรรลุสุขอันแท้จริงนิรันดร์
เรื่องราวความเชื่อและกุศโลบายเกี่ยวกับพิธีศพยังมีอีกมากมาย ติดตามบทความอื่น ๆ ของเราได้ที่หน้าบทความนะครับ และถ้าคุณต้องการพวงหรีดหรือบริการจัดดอกไม้หน้างานศพ ขอฝากร้าน หรีด ณ วัด เป็นอีกทางเลือกของคุณครับ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
..โลกนี้ไม่มีอะไรแน่ ผันแปรเรื่อยไป ลำบากยากใจไม่วายเว้นวัน วุ่นวายเหลือดีไม่มีสงบ มีแต่รบราฆ่าฟัน อายุคงสั้นเข้าไปทุกที ..ขอยึดธรรมะบวชพระดีกว่า หาทางสงบใจ ตัดโลภหลงไปไม่ขอใยดี ดั่งพุทธองค์ท่านทิ้งสมบัติ สุขแท้แน่ชัดตัดใจหนี ขอบวชอีกทีหาที่สงบใจ ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจ ท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย.