โดย สมปอง อริโย | 18/06/2568
รู้หรือไม่? ก่อนจะมีพวงหรีดดอกไม้สดในทุกวันนี้ มนุษย์เรามีพฤติกรรมการวางดอกไม้เพื่อแสดงความอาลัย มายาวนานกว่า 60,000 ปี! ฟังดูแล้วไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะ แต่นี่เป็นเรื่องจริงค่ะ และเพราะการวางดอกไม้นี่เองที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการมาสู่การมอบพวงหรีดดอกไม้สดให้ผู้ล่วงลับในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าอยากรู้ความเป็นมาเป็นไปของการแสดงความอาลัยในรูปแบบนี้ก็ต้องอ่านเรื่องราวที่ หรีด ณ วัด รวบรวมมาให้เลยค่ะ
ภาพโดย Ralph S. and Rose L. Solecki papers at the National Anthropological Archives ถ้าย้อนกลับไปไกล สมัยยุคกรีก-โรมัน พวงหรีดมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของเกียรติยศ โดยจะสวมใส่ไว้บนศีรษะของผู้นำในสมัยนั้น นักกวี นักบุญ หรือบุคคลสำคัญในสังคม ส่วนในการแสดงความอาลัยต่อผู้ล่วงลับนั้นจะใช้วิธีการวางดอกไม้รอบ ๆ ร่างกายของผู้ตาย ซึ่งวิธีนี้ นอกจากจะวางดอกไม้เพื่อแสดงความอาลัย ความเสียใจแล้ว ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากกลิ่นของดอกไม้ในการกลบกลิ่นศพด้วย โดยการค้นพบที่เก่าแก่มากที่สุดนั้น ค้นพบโดย ดร.Ralph Solecki ในปีค.ศ.1951 ซึ่งขณะนั้นเขาทำการขุดค้นพบหลุมศพเก่าในถ้ำ Shandiar ทางตอนเหนือของประเทศอิรัก และจากการตรวจสอบดินที่ขุดมาจากหลุมศพก็พบว่ามีละอองเกสรดอกไม้ และชิ้นส่วนของดอกไม้ป่ากว่า 8 ชนิด และคาดว่าน่าจะมีอายุ 62,000 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้หลุมศพนี้ถูกยกให้เป็นกิจกรรมทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกค่ะ
เมื่อพูดถึงดอกไม้ที่ใช้ในการทำพวงหรีดดอกไม้สด ดอกเบญจมาศคือองค์ประกอบหลักที่ทุกคนนึกถึง เพราะมันหมายถึง การเชื่อมถึงบุคคลอันเป็นที่รักซึ่งจากไป สื่อถึงความอาลัย และความโศกเศร้า
ในต่างประเทศ ดอกลิลลี่เป็นที่นิยมมากในการไว้อาลัย เนื่องจากความหมายของดอกไม้ชนิดนี้คือการคืนความบริสุทธิ์ให้แก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับ
ดอกกุหลาบขาว มีความหมายเดียวกับดอกลิลลี่ขาว คือความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสา และยังรวมไปถึงความเห็นอกเห็นใจ หากนำไปจัดช่อหรือพวงหรีดมักจะใช้แทนสัญลักษณ์ของความสงบด้วยเช่นกันค่ะ
ในประเทศไทยอาจไม่ค่อยเห็นคนนำดอกกล้วยไม้มาจัดมากนัก แต่ในต่างประเทศมักจะมอบดอกกล้วยไม้สีขาวให้ผู้ล่วงลับ เพื่อบอกกับพวกเขาเป็นครั้งสุดท้ายว่าฉันจะรักคุณเสมอ
นอกจากดอกเบญจมาศขาวที่คนนิยมใช้จัดพวงหรีดดอกไม้สดแล้ว ดอกคาร์เนชั่นขาวก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน โดยใช้สื่อถึงการปลอมประโลม และการยกย่องชื่นชมต่อผู้ที่ล่วงลับค่ะ
ภาพโดย J.S. Lefavour, Salem, Mass., c. 1878.
ในช่วงศตวรรษ 16-19 ชาวคริสเตียนมีการนำกระดาษและริบบิ้นมาตัดเป็นดอกไม้และใบไม้ จัดเป็นพวงหรีดทรงกลม เพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์เจ้า แต่ในภายหลังมีการเปลี่ยนมาใช้ดอกไม้สดแทน เพราะว่ามีความสวยงามมากกว่า และธรรมเนียมนี้ก็ส่งต่อมาถึงงานศพด้วย ทำให้นอกจากการวางดอกไม้ในหลุมศพแล้ว ยังมีการวางพวงหรีดดอกไม้สดเพื่อแสดงความอาลัย นอกจากนี้ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเปรียบเทียบว่า ดอกไม้มีวันเหี่ยวเฉาเหมือนกับชีวิตของมนุษย์ที่มีการเกิดแก่เจ็บตายนั่นเอง
กว่า 200 ปีเลยทีเดียวกว่าที่วัฒนธรรมการวางพวงหรีดดอกไม้สดเพื่อแสดงความอาลัยจะมาถึงประเทศไทย โดยมีการคาดการณ์ว่าเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่วัฒนธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศ โดยมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายพวงหรีดขนาดเล็กในพระเมรุของสมเด็จพระปอยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2447 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พวงหรีดดอกไม้สดก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง ก่อนจะกระจายตัวสู่ชนชั้นต่าง ๆ และกลายมาเป็นสัญลักษณ์แทนความรัก ความอาลัยจนถึงปัจจุบัน ขอบคุณข้อมูลจาก www.interflora.com.au
..โลกนี้ไม่มีอะไรแน่ ผันแปรเรื่อยไป ลำบากยากใจไม่วายเว้นวัน วุ่นวายเหลือดีไม่มีสงบ มีแต่รบราฆ่าฟัน อายุคงสั้นเข้าไปทุกที ..ขอยึดธรรมะบวชพระดีกว่า หาทางสงบใจ ตัดโลภหลงไปไม่ขอใยดี ดั่งพุทธองค์ท่านทิ้งสมบัติ สุขแท้แน่ชัดตัดใจหนี ขอบวชอีกทีหาที่สงบใจ ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจ ท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย.