โดย สมปอง อริโย | 18/06/2568
ที่มาภาพ: https://www.flickr.com/photos/khem-pravesvuth/6774452425/
ถ้าพูดถึงจังหวัดที่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และเที่ยวชม เชื่อว่าใครหลายคนต้องนึกถึงจังหวัดอยุธยาแน่นอน เพราะที่นี่เคยเป็นแลนด์มาร์คมานานหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีประเทศไทยเลยก็ว่าได้ และสำหรับใครที่ไปเที่ยวอยุธยาก็คงอยากจะไปชมความงามของเมืองเก่า สถาปัตยกรรมเก่าที่ยังคงมีโครงสร้างสมบูรณ์อยู่ ซึ่งแน่นอนว่ามีหลายที่อยู่แล้ว แต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวัดใหญ่ชัยมงคล วัดที่ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรค่ะ
ที่มาภาพ: https://www.flickr.com/photos/khem-pravesvuth/6758350401/
ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 1900 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดศพเจ้าแก้วและเจ้าไทซึ่งสิ้นพระชนม์เพราะโรคอหิวาตกโรคขึ้นมาเผา และโปรดให้สถาปนาบริเวณที่เผาศพเป็นพระอารามชื่อว่า วัดป่าแก้ว จากนั้นเป็นต้นมาก็มีคณะสงฆ์จากสำนักรัตนมหาเถระ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านในสมัยนั้นมาพำนักอยู่ ทำให้มีคนมาบวชเรียนที่นี่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัต และแต่งตั้งให้เป็นประธานสงฆ์ วัดแห่งนี้จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ในที่สุด
ที่มาภาพ: Manoonp
เนื่องจากวัดแห่งนี้มาอายุมานานกว่า 600 ปี ที่นี่จึงเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ต่าง ๆ มากมาย และหนึ่งในเรื่องที่เล่าขานกันมาคือชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรซึ่งตั้งอยู่ที่วัดแห่งนี้ค่ะ โดยเรื่องที่เล่าต่อกันมานั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งพม่าได้ยกทัพเข้ามาในขอบขัณฑสีมา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้นำทัพออกไปรบ โดยพระองค์ทรงขับช้างไปอยู่กลางวงล้อมข้าศึกเพื่อยิงปืนใส่พระมหาอุปราช มังกะยอชวาและพระคชาธาร ก่อนจะประกาศชวนทำยุทธหัตถี พระมหาอุปราชจึงไสยช้างออกมาทำยุทธหัตถีด้วย ซึ่งตอนนั้นเองที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชจนขาดสะพายแล่ง หลังกลับจากศึกพระองค์ทรงลงโทษประหารชีวิตทหารที่ตามไปไม่ทัน แต่ระหว่างที่รออาญา สมเด็จพระวันรัต และพระสงฆ์ 25 รูปก็ได้ขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระนเรศวร โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เป็นเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แวดล้อมด้วยหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการประกาศเกียรติ บารมีความกล้าหาญ และความเก่งกาจของพระองค์ให้ได้รู้กันทั่วแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงพระราชทานอภัยโทษแก่ทหาร และโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความมีน้ำพระทัยของพระองค์ที่มีต่อทหาร โดยพระราชทานนามเจดีย์นี้ว่า เจดีย์ชัยมงคล
ที่มาภาพ: Jidapa Tansutat
ช่วงปีพ.ศ. 2309 พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยยึดวัดป่าแก้วเป็นฐานทัพ และสู้รบกันมาเป็นเวลานานจนปี พ.ศ. 2310 เกิดเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างไว้นานถึง 400 ปี จนกระทั่งมีพระภิกษุ สามเณร และแม่ชีกลุ่มหนึ่งมาใช้ที่นี่เป็นสถานปฏิบัติธรรมอยู่ประมาณ 4 ปี จากนั้นพระฉลวย สุธมฺโมจึงไปนิมนต์พระครูภาวนาพิริยคุณ เจ้าอาวาส วัดยม อ.บางบาล ให้มาดูแลวัดต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2536 เกิดการพัฒนาวัดใหญ่ชัยมงคลขึ้นอีกครั้ง นำโดยพระครูพิสุทธิ์บุญสาร คณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชีจนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ ๓
จากประวัติศาสตร์ ความเก่าแก่แต่ยังสวยงามของวัดแห่งนี้ และพระพุทธรูปองค์สำคัญที่อยู่ในวัด ไม่แปลกใจเลยนะคะว่าทำไมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติต่างก็พากันมาเยี่ยมเยือนที่นี่อยู่บ่อย ๆ ก็ทั้งสวยงามและทรงคุณค่า เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้ ดังนั้นใครที่มีโอกาสมาที่อยุธยาก็ต้องห้ามพลาดจุดแลนด์มาร์คนี้เลยค่ะ
..โลกนี้ไม่มีอะไรแน่ ผันแปรเรื่อยไป ลำบากยากใจไม่วายเว้นวัน วุ่นวายเหลือดีไม่มีสงบ มีแต่รบราฆ่าฟัน อายุคงสั้นเข้าไปทุกที ..ขอยึดธรรมะบวชพระดีกว่า หาทางสงบใจ ตัดโลภหลงไปไม่ขอใยดี ดั่งพุทธองค์ท่านทิ้งสมบัติ สุขแท้แน่ชัดตัดใจหนี ขอบวชอีกทีหาที่สงบใจ ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจ ท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย.