หรีด ณ วัด
ส่งได้ทั่วไทย ส่งฟรีทั่ว กทม. และปริมณทล
หรีด ณ วัด

ย้อนอดีต เจาะประวัติ วัดหัวลำโพงกับความยาวนานกว่า 200 ปี

โดย สมปอง อริโย | 18/06/2568

ภาพถ่ายจั่วหลังคาโบสถ์วัดหัวลำโพง ถ้าพูดถึงวัดชื่อดังในกรุงเทพฯ ที่คนนิยมไปทำบุญ เสริมชะตาให้ชีวิตราบรื่น ชื่อที่ทุกคนนึกถึงมาเป็นอันดับต้น ๆ ต้องมีชื่อวัดหัวลำโพงอยู่แน่นอน เพราะเป็นวัดที่เดินทางง่าย ตั้งอยู่ใจกลางกรุง แถมยังมีให้ทำบุญกันแบบครบวงจร ไม่ว่าจะทำบุญไหว้พระ ถวายสังฆทาน หรือเดินออกมาหน่อยก็มีให้ทำบุญโลงศพ และกราบไหว้เทพยดาฟ้าดิน (ทีกง), โป๊ยเซียน เจ้าแม่กวนอิม, ชาแปะกง, ปู่โสม พ่อปู่เปี่ยม, และเจ้าพ่อเสือ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตด้วย ท่ามกลางความเคารพ และความศรัทธาที่หลายคนมีให้วัดแห่งนี้ อาจจะมีทั้งคนที่รู้และยังไม่รู้ถึงที่มาที่ไป รวมถึงตำนานที่เล่าขานกันต่อ ๆ มาของวัดหัวลำโพง ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กัน และนี่ก็คือเรื่องราวที่หรีด ณ วัด รวบรวมมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ  

จุดเริ่มต้นของวัดหัวลำโพง

ภาพบรรยากาศวัดหัวลำโพงในปีพ.ศ. 2494  ภาพจั่วหลังคาวัดหัวลำโพงสมัยพ.ศ. 2494 วัดหัวลำโพง หรือชื่อเก่าคือวัดวัวลำพอง แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ (วัดที่ประชาชนเป็นผู้สร้าง หรือปฏิสังขรณ์) ที่ไม่มีหลักฐานทางประวัติแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่คาดกันว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยคาดเดามาจากรูปร่างของโบสถ์เก่าและเจดีย์ดั้งเดิมของวัดที่ใช้ศิลปะในช่วงยุคสมัยนั้น และมีความเชื่อว่าชาวบ้านที่สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นคือ กลุ่มชาวบ้านที่อพยพมาตั้งรกรากในบริเวณนี้หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในช่วงปี พ.ศ. 2310 และเมื่อชุมชนเติบโต ขยายใหญ่มากขึ้น ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างวัดโดยตั้งชื่อให้พ้องกับชื่อหมู่บ้าน โดยให้ชื่อว่าวัดวัวลำพองนั่นเอง จากนั้นในปีพ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มาเปิดทางรถไฟหัวลำโพง รถไฟสายแรกของประเทศไทย และเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินที่วัดวัวลำพอง ก่อนจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดให้ใหม่ว่า วัดหัวลำโพง ซึ่งคล้องจองกับชื่อสถานีหัวลำโพงที่อยู่ห่างออกไป 2 กิโลเมตร โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เจ้าอาวาส พระอาจารย์สิงห์ ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรในขณะนั้น ภาพพระประธานภายในพระอุโบสถ วัดหัวลำโพง ปัจจุบันวัดหัวลำโพงกลายเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์คนในพื้นที่ และคนนอกพื้นที่มาทำพิธี ไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคลกันอย่างไม่ขาดสาย รวมถึงมีจุดที่เปิดให้บริจาค ไถ่ชีวิตโค-กระบือ และช่วยเหลือมูลนิธิต่าง ๆ ด้วย  

ตำนานเล่าขานถึงโลงคู่ และความรักที่ไม่สมหวัง

ภาพเทียนที่ถูกจุดอยู่ในแก้วจำนวนมาก บางวัดดังมาคู่กับตำนานที่ผู้คนเล่าขานกันปากต่อปาก บ้างก็เป็นเรื่องเศร้า บ้างก็เป็นเรื่องน่ากลัว แต่สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่าเป็นโศกนาฏกรรมความรักของคนสองคนที่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ลืมเลือนไปจากความทรงจำของใครหลายคน ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2510 คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินเรื่องราวความรักของ ‘ปราโนต-สมชาย’ ในสมัยนั้น ปราโนต วิเศษแพทย์ เป็นสาวประเภทสองที่ใคร ๆ ต่างก็ยกให้เป็นคนที่สวยที่สุด สวยยิ่งกว่าผู้หญิงบางคน และไม่มีใครเทียบได้ ไม่ว่าจะลงประกวดเวทีสาวประเภทสองที่ไหนก็จะชนะและได้รางวัลมาครอบครองทุกครั้งไป ปราโนตรู้จักกับ สมชาย แก้วจินดา หรือ ชีพ ซึ่งขณะนั้นมีอาชีพเป็นคนขับรถแท็กซี่ โดยทั้งคู่ได้พบและรักกันยาวนานหลายปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งคู่ก็เริ่มทะเลาะกัน เนื่องจากความหวาดระแวง และความหึงหวง จนถึงขั้นที่ทั้งคู่พากันไปสาบานต่อกันที่วัดพระแก้วและศาลหลักเมืองว่า “ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ต่อกันก็ขอให้ตายด้วยกัน ถ้าสีดาตายก่อน ชีพจะต้องตายตามไป แต่ถ้าชีพตายก่อน สีดาก็จะต้องตายตามไป” หลังจากวันนั้น ทั้งคู่ก็ยังคงทะเลาะกัน และเพราะปราโนตเห็นว่ามีผู้หญิงเข้ามาพัวพันกับชีพ เธอจึงรู้สึกเสียใจและพยายามปลิดชีพตัวเองอยู่หลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งวันที่ 2 พฤษภาคม ความพยายามครั้งสุดท้ายของเธอก็สำเร็จในที่สุด และเมื่อชีพทราบข่าวว่าปราโนตได้จากไปแล้ว เขาก็ร้องไห้ด้วยความเศร้าเสียใจและพูดซ้ำ ๆ ประโยคเดิมว่า “ผมจะตามพี่ไป พี่รอผมด้วย” โดยในช่วงงานศพของปราโนต ชีพได้บวชอุทิศส่วนกุศลให้เธอ และเมื่อสวดศพครบ 3 คืนแล้วเขาก็ตัดสินใจสึก จากนั้นได้นำสมบัติที่ร่วมกันซื้อกับปราโนตไปจำนำ และนำเงินไปให้คนในบ้านพร้อมเขียนจดหมายสั่งเสียไว้ ก่อนจะปลิดชีพตัวเองตามไปในวันที่ 15 พฤษภาคม ในปีเดียวกันนั้นเอง และวัดหัวลำโพงก็เป็นสถานที่สุดท้ายที่พวกเขาได้อยู่เคียงข้างกัน โดยโลงศพของทั้งคู่ถูกตั้งไว้เคียงคู่กันเพื่อรอการฌาปนกิจ สร้างความเสียใจให้กับผู้พบเห็นไม่ใช่น้อย และเรื่องราวของพวกเขาก็ถูกเล่าต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันถึงเรื่องราวของความรักแสนเศร้าที่จบลง โดยที่ไม่มีใครได้บอกลากันก่อนจากโลกนี้ไป ภาพเทียนรูปดอกบัวที่ลอยอยู่ในอ่างน้ำภายในวัดหัวลำโพง และนี่ก็คือประวัติและตำนานของวัดหัวลำโพงที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น อ่านแล้วรับรู้ได้ถึงความเป็นที่เคารพนับถือและความศักดิ์สิทธิ์ของวัดแห่งนี้เลย ใครที่มองหาสถานที่ทำบุญ ทำให้จิตใจผ่อนคลายและเดินทางง่ายก็แนะนำให้มาที่นี่เลยค่ะ ส่วนใครที่มองหาร้านพวงหรีด วัดหัวลำโพงสำหรับจัดส่งมาที่วัดแห่งนี้ก็ต้องหรีด ณ วัดเลย เรามีพวงหรีดคุณภาพพร้อมให้บริการ ส่งตรงถึงศาลาอยู่นะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก: 109wat.com/ www.posttoday.com/life/travel/557528 www.sanook.com/horoscope/107509/

share :

ผู้เขียนบทความ

..โลกนี้ไม่มีอะไรแน่ ผันแปรเรื่อยไป ลำบากยากใจไม่วายเว้นวัน วุ่นวายเหลือดีไม่มีสงบ มีแต่รบราฆ่าฟัน อายุคงสั้นเข้าไปทุกที ..ขอยึดธรรมะบวชพระดีกว่า หาทางสงบใจ ตัดโลภหลงไปไม่ขอใยดี ดั่งพุทธองค์ท่านทิ้งสมบัติ สุขแท้แน่ชัดตัดใจหนี ขอบวชอีกทีหาที่สงบใจ ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจ ท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย ..บวชให้พ่อแม่ ให้แด่ผู้มีพระคุณ พี่ป้าน้าอาทำบุญ ขอขอบคุณบวชยกบุญให้ อย่าคิดว่าผม เป็นชายสามโบสถ์ ใช่บวชหนีใคร บวชพึ่งพระไตร เพื่อความสุขล้ำ ..บวชพระแหละดี ไม่มีเรื่องวุ่น ได้บุญสุขใจท่องสวดมนต์ไป ให้บุญครอบงำ บวชพระแล้วได้เป็นหลวงพี่ ถ้าสบายดีขอบวชประจำ แม้นมีบุญนำ บวชเป็นหลวงพ่อเลย.

สินค้าใกล้เคียง